Posted by: janvee | December 22, 2010

ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ

ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ

ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ เป็นฐานข้อมูลที่จำเป็นฐานหนึ่ง สำหรับการให้บริการในห้องสมุด ซึ่งควรพัฒนารูปแบบการให้บริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ

วัตถุประสงค์ในการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ

  1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ศึกษาหาความรู้จากระบบสารสนเทศที่เหมาะสม
  2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความสะดวกจากการสืบค้นสารสนเทศ
  3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยตนเอง
  4. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับสารสนเทศตรงตามความต้องการ
  5. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

การดำเนินงานประการแรกควรศึกษาหาความรู้ และเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับผู้สูงอายุ    เพื่อประสิทธิภาพในการออกแบบฐานข้อมูลให้มีความสอดคล้องกับผู้สูงอายุ ทั้งด้าน รูปแบบ และสารสนเทศ

การดำเนินงานประการที่ 2  ศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

                    สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ที่ผ่านการประมวลผล ทั้งความคิด ประสบการณ์ รวมถึงจินตนาการของมนุษย์ที่มีการจัดการบันทึกลงในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการสื่อสารและการตัดสินใจ

                    ระบบสารสนเทศ เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ input การจัดการ Processing การเผยแพร่ Output และมีส่วนเก็บข้อมูล Storage ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลสารสนเทศ การจัดการสารสนเทศ

                    การเข้าถึงสารสนเทศ หมายถึงวิธีการที่ผู้ใช้สามารถสืบค้น และได้รับสารสนเทศที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ จำแนกเป็นการเข้าถึงสารสนเทศจากทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และทรัพยากรสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

                    สื่อมัลติมีเดีย หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เห็นได้เลือกและรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดิโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้

ปัญหาและอุปสรรคของผู้สูงอายุในการเข้าถึงสารสนเทศ

  1. การมองเห็น (Vision) จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เมื่ออายุเกิน 60 ปี ขึ้นไปแล้ว
  2. การได้ยิน (Hearing) ความสามารถที่จะได้ยินเสียงสูงจะค่อยๆ ลดลง เมื่ออายุ 65 ปี ขึ้นไป
  3. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ความสับสนยุ่งเหยิงอันเนื่องมากจากความเสื่อมของระบบประสาท ความจำลดลง
  4. การควบคุมบังคับระบบร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ควบคุมได้ลดน้อยลงในผู้สูงอายุ
  5. การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Regulation) ความสามารถของผู้สูงอายุในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะลดลง หากห้องสมุดติดตั้งเครื่องปรับ อากาศ
  6. ขาดทักษะการพิมพ์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

ระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ : ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ

                    การจัดการสารสนเทศห้องสมุด  โดยเปิดเว็บไซต์เพื่อผู้สูงอายุ พร้อมพัฒนาระบบให้ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์รอบด้าน โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางการสื่อสารระหว่างผู้สูงอายุและบุคคล ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งเว็บดังกล่าวได้จัดทำฐานข้อมูลด้านความรู้ สุขภาพ วิชาชีพ บันเทิง จริยธรรม และนวัตกรรมเทคโนโลยี ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านกระดานสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน โดยเว็บไซต์ดังกล่าวได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัย เพิ่มเสียงอธิบายรายละเอียดและวิธีการใช้งานแทนการอ่าน พร้อมปรับขนาดตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงอายุ รวมถึงจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข ทั้งช่วยทำให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตัวเอง และมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

การดำเนินงานประการที่ 3 การออกแบบฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ

                    การออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design : UD) คือ การออกแบบทุกอย่างให้ใช้งานง่าย และเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนเพศไหน วัยไหน หนุ่ม สาว เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือใครก็ใช้ได้ง่าย ดูแล้วเข้าใจไม่ต้องไปเปิดคู่มือการใช้กันอีก ส่วนหนึ่งเพราะสังคมกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในความเป็นจริงก็มีหลายๆ อย่างที่ทำได้ยาก แต่ก็พยายามออกแบบให้เข้าใจและใช้งานง่ายสุด ตัวอย่าง Universal Design

1.  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ออกแบบให้ใช้งานง่ายขึ้น เช่น โทรทัศน์มีที่เสียบพวก Memory Card  เมื่อถ่ายรูปหรือถ่ายวีดิโอแล้วสามารถนำมาใช้งานกับเครื่องรับโทรทัศน์    ได้เลย

2.  ระบบการป้อนข้อมูลแบบใหม่ โดยใช้เสียง ไม่ต้องใช้ทั้งเม้าส์ หรือคีย์บอร์ด เพื่อให้คนพิการหรือผู้สูงอายุ และคนที่พิมพ์สัมผัสไม่ได้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้

3.  การขึ้นตัวหนังสือในรายการโทรทัศน์ สำหรับคนที่หูหนวก หรือหูไม่ดี จะได้ดูรายการโทรทัศน์ ข่าวรู้เรื่อง

หลักเกณฑ์ของ Universal Design มี 7 ประการ ได้แก่

  1. เสมอภาค (Equitable Use) ใช้งานได้กับทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกันไม่มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ เช่น การติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะสองระดับ ระดับทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ หรือคนที่นั่งรถเข็นใช้ได้
  2. ยืดหยุ่น (Flexibility in Use) ใช้งานได้กับผู้ที่ถนัดซ้าย และขวาหรือปรับสภาพความสูงต่ำขึ้นลงได้ตามความสูงของผู้ใช้
  3. เรียบง่ายและเข้าใจได้ดี (Simple and Intuitive) เช่น มีภาพหรือคำอธิบายที่เรียบง่าย สำหรับคนทุกประเภทไม่ว่าจะมีความรู้ระดับไหน อ่านหนังสือออกหรือไม่ อ่านภาษาต่างประเทศได้หรือไม่ หรืออาจใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์สากล สื่อสารให้เข้าใจได้ง่ายๆ ฯลฯ
  4. มีข้อมูลเพียงพอ (Perceptible Information) มีข้อมูลง่ายสำหรับประกอบการใช้งานที่พอเพียง
  5. ทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาด (Tolerance for error) เช่น มีระบบป้องกันอันตรายหากมีการใช้ผิดพลาด รวมทั้งไม่เสียหายได้โดยง่าย
  6. ทุ่นแรงกาย (Low Physical Offort) สะดวดและไม่ต้องออกแรง
  7. ขนาด และสถานที่ที่เหมาะสม และใช้งานในเชิงปฏิบัติได้ (Size and space for approachhand use) โดยคิดออกแบบเผื่อสำหรับคนร่างกายใหญ่โต คนที่เคลื่อนไหวร่างกายยาก คนพิการ คนสูงอายุ

สรุป

           ฐานข้อมูลสารสนเทศผู้สูงอายุ เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับผู้สูงอายุ ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 60-70 ปี โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต นำเสนอในรูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ และสื่อมัลติมีเดีย โดยยึดหลักการออกแบบสากล 7 ประการ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุศึกษาหาความรู้ ได้รับความสะดวกจากการสืบค้นสารสนเทศ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งรูปแบบออนไลน์ และใช้บริการจากห้องสมุด เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า

แหล่งอ้างอิง

กิตติ  ภักดีวัฒนะกุล, จำลอง ครูอุตสาหะ. (2521).  คัมภีร์ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.

อีอาร์โมเดล.  (2553).  สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2553, จาก http://www.Thaiall.com

Universal Design.  (2010).  Retrieved Jul 12, 2010, from http://www.washington.edu/doit/Faculty/strategies/Journal /apr/apr13_Universal op_def.html


Leave a comment

Categories